โครงการพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน (สร้างสรรค์ฯ) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรณรงค์สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เยาวชน LGBTI (เลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล คนข้ามเพศและอินเตอร์เซ็กซ์) ในสถานศึกษา #PurpleMySchool
ซึ่งเป็นการรณรงค์ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ร่วมกับ UNESCO, UNDP และโครงการ Being LGBT in Asia
ซึ่งเป็นการรณรงค์ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ร่วมกับ UNESCO, UNDP และโครงการ Being LGBT in Asia
วันที่ 25 - 27 กันยายน 2558 โครงการฯได้จัดค่ายอบรมเสริมศักยภาพนักเรียนในโครงการฯ โดยใช้กนะบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ซึ่งค่ายนี้มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1) การแนะแนวและเตรียมความพร้อมด้านวิชาการสำหรับเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
2) การเรียนรู่ผ่านประสบการณ์เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักรู้ในประเด็นเพศภาวะ เพศวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศร่วมกับประเด็นชนเผ่าพื้นเมือง
3) ทำการรณรงค์ยุติการรังแกในสถานศึกษา
1) การแนะแนวและเตรียมความพร้อมด้านวิชาการสำหรับเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
2) การเรียนรู่ผ่านประสบการณ์เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักรู้ในประเด็นเพศภาวะ เพศวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศร่วมกับประเด็นชนเผ่าพื้นเมือง
3) ทำการรณรงค์ยุติการรังแกในสถานศึกษา
ผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 39 คน ได้แก่
1) กลุ่มเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง 33 คน
2) นักศึกษาอาสาสมัครในโครงการฯ 2 คน
3) เจ้าหน้าที่ โครงการฯ 2 คน
4) ครูอาสาสมัคร 2 คน
1) กลุ่มเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง 33 คน
2) นักศึกษาอาสาสมัครในโครงการฯ 2 คน
3) เจ้าหน้าที่ โครงการฯ 2 คน
4) ครูอาสาสมัคร 2 คน
จากข้อเท็จจริงในสังคมไทยพบว่าคนรักสองเพศ คนข้ามเพศ หรืออินเตอร์เซ็กส์ (LGBTI) ต้องรู้สึกหวาดกลัวที่จะไปโรงเรียน เนื่องจากอาจต้องพบกับการถูกล้อเลียน หรือกีดกันจากกลุ่มเพื่อนในโรงเรียน และโดยเฉพาะในบริบทโรงเรียน ซึ่งมีนักเรียนที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งถูกมักจะถูกมองว่าขัดต่อประเพณี วัฒนธรรมและความคิดความเชื่อ กระบวนการรังแกจึงมีความซับซ้อนและรุนแรง
ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ชีวิต เพื่อเปลี่ยนแปลงต่ออคติทางเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ร่วมกับอคติทางเพศต่อเพศภาวะ เพศวิถีและรสนิยมทางเพศที่แตกต่างหลากหลาย ภายใต้กรอบสิทธิมนุษยชนจึงย่อมส่งผลให้ผู้เข้าร่วมมีฐานคิดเรื่องความเท่าเทียมยุติธรรรม โดยเฉพาะความเท่าเทียมระหว่างเพศ เพื่อให้ชนเยาวชนเผ่าพื้นเมือง และเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองที่เป็น LGBTI อยู่ในสังคม อยู่ในสถานศึกษาได้อย่างปลอดภัย เข้าถึงสิทธิและโอกาส โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ไม่ถูกรังแก ไม่ถูกฎทับด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติเผ่าพันธุ์และด้วยเหตุแห่งวิถีและ/หรืออัตลักษณ์ทางเพศ
เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมผู้เข้าร่วมได้ร่วมกับสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ว่า มีความเข้าใจเรื่องเพศภาวะ เพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ และมีความตระหนักรู้และยอมรับและเคารพกับบนพื้นฐานของความความแตกต่างหลากหลายในประเด็นดังกล่าว ซึ่งนำไปสู่ความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย ในเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางเพศ และเพื่อนๆและผู้เข้าร่วมทั้งหมดมีเข้าใจและกล่าวว่าจะสนับสนุนและไม่รังแก เพื่อนที่เป็น LGBTI
กิจกรรมสุดท้ายผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้มีร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ยุติความรุนแรง ยุติการรังแก ยุติการกีดกัน ต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อ LGBTI เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศในสังคม
No comments:
Post a Comment