27 – 29 มีนาคม 2558:
สร้างสรรค์จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องทักษะและกระบวนการศึกษาชุมชนเเพื่อเป็นฐานรากในงานวิจัย และ/หรืองานพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมเป็นเยาวชน ชนเผ่าพื้นเมือง ในโครงการฯ ซึ่งศึกษาในระดับปริญญาตรีทั้งสิ้น 8 คน อาสาสมัครคุณสมศรี หล้าบุดดา และกระบวนกร 3 คนได้แก่ เจ้าหน้าที่ โครงการฯ คุณมัจฉา พรอินทร์ และคุณวีรวรรณ วรรณะ และคุณสุไลพร ซึ่งเป็นนักวิจัยอิสระ
กระบวนการเริ่มต้นด้วยการพูดคุยเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และระดมความคาดหวัง ผู้เข้าร่วมฯส่วนใหญ่มีความคาดหวังอยากจะเรียนรู้กระบวนการทำวิจัย อยากเรียนรู้และทำความเข้าใจชุมชนของตนเอง อยากพัฒนาทักษะการทำวิจัยและ/ศึกษาชุมชน อยากพัฒนาศักยภาพของคนตลอดจนอยากนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำงานพัฒนาในอนาคต นอกจากนี้ยังมีผู้เข้าร่วมบางคนที่คาดหวังว่าจะนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้กับการเรียนในระดับปริญญาตรี
เนื่องจากการจัดอบรมนี้ ได้จัดทำขึ้นทุกปี โดยโครงการฯมีความคาดหวังว่าอยากให้ผู้เข้าร่วมฯได้ทำความรู้จักชุมชนตนเองในหลากหลายมิติ และเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเยาวชนชนเผ่านพื้นเมืองให้มีทักษะและรากฐานในการทำงานวิจัย ศึกษาและ/หรือพัฒนาชุมชน
เนื่อจากมีการจัดกิจกรรมนี้ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 4 จึงมีผู้เข้าร่วมฯที่ได้เรียนรู้กระบวนการเหล่านี้และผ่านการลงพื้นที่ ทำการศึกษาชุมชนตนมาแล้ว เช่น ภัทรครินทร์ จรุงสาคร (ปุ๊ซอ)เป็นผู้ผ่านกระบวนการนี้มาแล้ว 4 ครั้ง ครั้งนี้จึงเป็นครั้งสุดท้ายที่เธอจะได้แลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์ ตลอดจนเตรียมความพร้อมที่จะออกไปทำงานพัฒนาชุมชนของตนเอง อาจจะในฐานะครูหรือนักพัฒนาองค์กรเอกชน เนื่องจากเธอได้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
กระบวนกรทั้ง 3 คน อบรมและถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ ว่าด้วย ทักษะ เครื่องมือและกระบวนการศึกษาชุมชนและการทำวิจัย เพื่อพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสังคม
หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสฝึกใช้เครื่องมือที่ได้เรียนรู้จากกระบวนกร เช่น การเขียนแผนที่ชุมชน การฝึกสัมภาษณ์ การฝึก Focus group ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้ฝึกลงพื้นที่จริงโดยใช้เครื่องมือที่ได้เรียนรู้มาทั้งหมด โดยในการฝึกลงพื้นที่จริงครั้งนี้ได้ทดลองศึกษาชุมชนบ้านใหม่ อำเภอแม่ริม และได้นำเสนอผลการลงพื้นที่ เก็บข้อมูลเพื่อศึกษาชุมชน
จากนั้น ในช่วงเวลาปิดเทอมนับตั้งแต่เดือนเมษายน - พฤษภาคม เป็นช่วงที่ผู้ผ่านการอบรม ได้ไปลงพื้นที่ เพื่อศึกษา/วิจัยชุมชนของตนเองจริงและเตรียมนำเสนอ ตลอดจนจัดทำรายงานการศึกษา/วิจัย ชุมชนของตนเอง
12 – 14 มิถุนายน 2558:
สร้างสรรค์ฯได้เปิดพื้นที่นำเสนอผลงานศึกษา/วิจัยชุมชน สำหรับผู้ที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ ทักษะและกระบวนการศึกษาชุมชนเเพื่อเป็นฐานในงานวิจัย และ/หรืองานพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมซึ่งเป็นเยาวชน ชนเผ่าพื้นเมือง ทั้งสิ้น 8 คน มีกระบวนกร 3 คน คือเจ้าหน้าที่โครงการฯ 2 คนและคุณมะลิวรรณ เสนาวงษ์ ซึ่งเป็นนักวิจัย ประจำศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สร้างสรรค์ฯได้เปิดพื้นที่นำเสนอผลงานศึกษา/วิจัยชุมชน สำหรับผู้ที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ ทักษะและกระบวนการศึกษาชุมชนเเพื่อเป็นฐานในงานวิจัย และ/หรืองานพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมซึ่งเป็นเยาวชน ชนเผ่าพื้นเมือง ทั้งสิ้น 8 คน มีกระบวนกร 3 คน คือเจ้าหน้าที่โครงการฯ 2 คนและคุณมะลิวรรณ เสนาวงษ์ ซึ่งเป็นนักวิจัย ประจำศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กระบวนการเริ่มต้นด้วยการพูดคุย ชี้แจงวัตถุประสงค์และนำเสนอผลงานการศึกษา/วิจัยชุมชน ทั้งนี้มีชุมชนที่ได้ศึกษาวิจัยได้แก่
- บ้านปู่แก้ว อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดย อรอุมา เริงฤทัยวรรณ
- บ้านแม่อมกิ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก โดย สมชาย ศรีรักษ์
- บ้านปู่ทา อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดย สมพร ฟ้ากว้างไกล
- บ้านแม่ลามาหลวง อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดย สาริกา ทวีรัตนา
- บ้านเคราะบอ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยพรพจน์ ไพรศิริทรัพย์
- บ้านปางทอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก โดยดำรง ราตรีศีรีรักษ์
- ให้ผู้นำเสนอ นำเสนอผลการศึกษาชุมชนด้วย power point และเมื่อจบการนำเสนอให้ผู้นำเสนอได้พูดถึงความรู้สึก บอกจุดแข็ง จุดที่ต้องปรับปรุงและอื่นๆที่สำคัญในงานของตน
- ผู้เข้ารวม ถามตอบและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- กระบวนกร ช่วยกันตั้งคำถาม ตลอดจนชี้ให้เห็นจุดแข็ง จัดที่ต้องปรับปรุง พูดคุย ชวนวิเคราะห์ในประเด็นที่น่าสนใจและสิ่งที่ต้องศึกษาเพิ่ม
หลังจากผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้นำเสนองานศึกษาของตนแล้วกระบวนกร ชวนผู้เข้าร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสังเคราะห์สิ่งที่ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้
จากฐานการศึกษาและวิจัยชุมชน เยาวชนที่ผ่านโครงการฯได้ระดมประเด็นที่ตนเองสนใจจนเกิดเป็นหัวข้อที่จะวิจัย เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
- การสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของเยาวชนกะเหรี่ยง
- เยาวชนกะเหรี่ยงในฐานะผู้สืบทอด และส่งต่อวัฒนธรรม มิติ ประเพณี ผ้าทอกะเหรี่ยงและเพลงในพิธิกรรม
- ผู้หญิง ประสบการณ์ เสียง การสร้างภาวะผู้นำกับการสร้างความเท่าเทียมระหว่างเพศ
- เสียง ชีวิตและประสบการณ์ของเยาวชนไร้รัฐเพื่อสร้างความเท่าเทียมในสังคม
สุดท้ายผู้เข้าร่วมได้แยกเข้าเข้ากลุ่มตามประเด็นที่ตนเองสนใจและพูดคุยสิ่งที่อยากทำตลอดจนวิเคราะห์ว่าหากจะให้งานเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง จะต้องมีสิ่งใดบ้าง และนำเสนอข้อมูลที่ได้ต่อกลุ่มใหญ่
กระบวนกรทั้ง 3 ร่วมกับสะท้อนบทเรียนที่เกิดขึ้นตลอดกระบวนการ และทิ้งท้ายโจทย์ใหม่ คือ เราจะร่วมกันทำวิจัยในทั้ง 4 ประเด็น ได้อย่างไร ซึ่งจากข้อสรุป นำไปสู่ข้อเสนอแนะให้มีการประชุมวางแผนงานร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง
สรุปบบทเรียนและปิดกิจกรรม
ข้อมูลเพิ่มเติม
จากการดำเนินงานโครงการพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์อนาคตเยาวชนมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปี 2558 โครงการฯ ได้มุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งให้เยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง ผ่านโครงการ/กิจกรรมที่สร้างสรรค์ต่างๆมากมาย รวมถึงการศึกษาชุมชนเเพื่อเป็นฐานในงานวิจัย และ/หรืองานพัฒนาอย่างยั่งยืน เฉพาะโครงการย่อยนี้ เรามีกลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาทุนโครงการฯ ซึ่งรับทุนต่อเนื่องมาแต่ระดับมัธยมศึกษาจนถึงระดับมหาลัย ซึ่งส่วนใหญ่มีความความตั้งใจที่จะกลับไปทำงานพัฒนาชุมชนของตนเอง เราจึงได้วางรากฐานสำคัญสำคัญ คือ ทักษะ ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ ตลอดจนแนวคิด การศึกษาชุมชน/การทำวิจัยเพื่อพัฒนา สำหรับนักการศึกษา นักวิจัย/หรือนักพัฒนา ผู้ซึ่งจะนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ชุมชนและสังคม
No comments:
Post a Comment