Tuesday, July 12, 2016

saydp3




This VDO is about the core of Sangsan (changing the name from SAYDP to Sangsan). It's also about the scholarship project and the empowering training. Those are the scholarhip student's voice.

about Sangsan please following below;

Sangsan started in 2008 as a small life-skills and scholarship program, supporting students from indigenous communities (many of whom have no official citizenship in Thailand). These students are living far from home, living in boarding schools which makes theme extremely vulnerable to volatile environment in which they live. Sangsan works with these students to identify their needs, develop trainings consistent with their goals and topics of interest, and provides scholarships to those most at risk of of having to cease their education. Trainings involve everything based on Human Rights, Children Right, SOGIE, Women Right and the right of indigenous people. Students are given the space to explore their identities as indegenous youth and given the skills to stand up for to defend their right and fight discrimination.

The program currently works with over 400 youth from primary school to the university level. Since starting in 2008, the number of students graduating high has increase ten fold from 2 students to over 30. Once students graduate they are encouraged to pursue higher education through scholarship support. The majority of these students will use the skills they learned through SAY-DP (Sangsan) and at the university to go back to their communities and become NOGs, teachers, social workers, government officer etc.

The entire program is run by two full-time staff and multiple volunteers. The organizations depends on foreign donors but is always looking for more donations. Please keep an eye out for the website currently being created which will give you more information on how to donate.

Sangsan held Maelama Primary school camp in October 11 - 14, 2015

https://youtu.be/El6nN4bt2ZM

Monday, September 28, 2015

โครงการพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน (สร้างสรรค์ฯ) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรณรงค์สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เยาวชน LGBTI (เลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล คนข้ามเพศและอินเตอร์เซ็กซ์) ในสถานศึกษา ‪#‎PurpleMySchool‬
ซึ่งเป็นการรณรงค์ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ร่วมกับ UNESCO, UNDP และโครงการ Being LGBT in Asia
วันที่ 25 - 27 กันยายน 2558 โครงการฯได้จัดค่ายอบรมเสริมศักยภาพนักเรียนในโครงการฯ โดยใช้กนะบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ซึ่งค่ายนี้มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1) การแนะแนวและเตรียมความพร้อมด้านวิชาการสำหรับเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
2) การเรียนรู่ผ่านประสบการณ์เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักรู้ในประเด็นเพศภาวะ เพศวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศร่วมกับประเด็นชนเผ่าพื้นเมือง
3) ทำการรณรงค์ยุติการรังแกในสถานศึกษา
ผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 39 คน ได้แก่
1) กลุ่มเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง 33 คน
2) นักศึกษาอาสาสมัครในโครงการฯ 2 คน
3) เจ้าหน้าที่ โครงการฯ 2 คน
4) ครูอาสาสมัคร 2 คน
จากข้อเท็จจริงในสังคมไทยพบว่าคนรักสองเพศ คนข้ามเพศ หรืออินเตอร์เซ็กส์ (LGBTI) ต้องรู้สึกหวาดกลัวที่จะไปโรงเรียน เนื่องจากอาจต้องพบกับการถูกล้อเลียน หรือกีดกันจากกลุ่มเพื่อนในโรงเรียน และโดยเฉพาะในบริบทโรงเรียน ซึ่งมีนักเรียนที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งถูกมักจะถูกมองว่าขัดต่อประเพณี วัฒนธรรมและความคิดความเชื่อ กระบวนการรังแกจึงมีความซับซ้อนและรุนแรง
ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ชีวิต เพื่อเปลี่ยนแปลงต่ออคติทางเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ร่วมกับอคติทางเพศต่อเพศภาวะ เพศวิถีและรสนิยมทางเพศที่แตกต่างหลากหลาย ภายใต้กรอบสิทธิมนุษยชนจึงย่อมส่งผลให้ผู้เข้าร่วมมีฐานคิดเรื่องความเท่าเทียมยุติธรรรม โดยเฉพาะความเท่าเทียมระหว่างเพศ เพื่อให้ชนเยาวชนเผ่าพื้นเมือง และเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองที่เป็น LGBTI อยู่ในสังคม อยู่ในสถานศึกษาได้อย่างปลอดภัย เข้าถึงสิทธิและโอกาส โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ไม่ถูกรังแก ไม่ถูกฎทับด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติเผ่าพันธุ์และด้วยเหตุแห่งวิถีและ/หรืออัตลักษณ์ทางเพศ
เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมผู้เข้าร่วมได้ร่วมกับสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ว่า มีความเข้าใจเรื่องเพศภาวะ เพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ และมีความตระหนักรู้และยอมรับและเคารพกับบนพื้นฐานของความความแตกต่างหลากหลายในประเด็นดังกล่าว ซึ่งนำไปสู่ความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย ในเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางเพศ และเพื่อนๆและผู้เข้าร่วมทั้งหมดมีเข้าใจและกล่าวว่าจะสนับสนุนและไม่รังแก เพื่อนที่เป็น LGBTI 
กิจกรรมสุดท้ายผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้มีร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ยุติความรุนแรง ยุติการรังแก ยุติการกีดกัน ต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อ LGBTI เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศในสังคม

















Sunday, June 14, 2015

การศึกษาชุมชนเพื่อเป็นฐานรากในงานวิจัยและ/หรืองานพัฒนาอย่างยั่งยืน

27 – 29 มีนาคม 2558:
สร้างสรรค์จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องทักษะและกระบวนการศึกษาชุมชนเเพื่อเป็นฐานรากในงานวิจัย และ/หรืองานพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมเป็นเยาวชน ชนเผ่าพื้นเมือง ในโครงการฯ ซึ่งศึกษาในระดับปริญญาตรีทั้งสิ้น 8 คน อาสาสมัครคุณสมศรี หล้าบุดดา และกระบวนกร 3 คนได้แก่ เจ้าหน้าที่    โครงการฯ คุณมัจฉา พรอินทร์ และคุณวีรวรรณ วรรณะ และคุณสุไลพร ซึ่งเป็นนักวิจัยอิสระ


กระบวนการเริ่มต้นด้วยการพูดคุยเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และระดมความคาดหวัง ผู้เข้าร่วมฯส่วนใหญ่มีความคาดหวังอยากจะเรียนรู้กระบวนการทำวิจัย อยากเรียนรู้และทำความเข้าใจชุมชนของตนเอง อยากพัฒนาทักษะการทำวิจัยและ/ศึกษาชุมชน อยากพัฒนาศักยภาพของคนตลอดจนอยากนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำงานพัฒนาในอนาคต นอกจากนี้ยังมีผู้เข้าร่วมบางคนที่คาดหวังว่าจะนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้กับการเรียนในระดับปริญญาตรี

เนื่องจากการจัดอบรมนี้ ได้จัดทำขึ้นทุกปี โดยโครงการฯมีความคาดหวังว่าอยากให้ผู้เข้าร่วมฯได้ทำความรู้จักชุมชนตนเองในหลากหลายมิติ และเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเยาวชนชนเผ่านพื้นเมืองให้มีทักษะและรากฐานในการทำงานวิจัย ศึกษาและ/หรือพัฒนาชุมชน 

เนื่อจากมีการจัดกิจกรรมนี้ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 4 จึงมีผู้เข้าร่วมฯที่ได้เรียนรู้กระบวนการเหล่านี้และผ่านการลงพื้นที่ ทำการศึกษาชุมชนตนมาแล้ว เช่น ภัทรครินทร์ จรุงสาคร (ปุ๊ซอ)เป็นผู้ผ่านกระบวนการนี้มาแล้ว 4 ครั้ง ครั้งนี้จึงเป็นครั้งสุดท้ายที่เธอจะได้แลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์ ตลอดจนเตรียมความพร้อมที่จะออกไปทำงานพัฒนาชุมชนของตนเอง อาจจะในฐานะครูหรือนักพัฒนาองค์กรเอกชน เนื่องจากเธอได้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 

กระบวนกรทั้ง 3 คน อบรมและถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ ว่าด้วย ทักษะ เครื่องมือและกระบวนการศึกษาชุมชนและการทำวิจัย เพื่อพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสังคม



หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสฝึกใช้เครื่องมือที่ได้เรียนรู้จากกระบวนกร เช่น การเขียนแผนที่ชุมชน การฝึกสัมภาษณ์ การฝึก Focus group ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้ฝึกลงพื้นที่จริงโดยใช้เครื่องมือที่ได้เรียนรู้มาทั้งหมด โดยในการฝึกลงพื้นที่จริงครั้งนี้ได้ทดลองศึกษาชุมชนบ้านใหม่  อำเภอแม่ริม และได้นำเสนอผลการลงพื้นที่ เก็บข้อมูลเพื่อศึกษาชุมชน



จากนั้น ในช่วงเวลาปิดเทอมนับตั้งแต่เดือนเมษายน - พฤษภาคม เป็นช่วงที่ผู้ผ่านการอบรม ได้ไปลงพื้นที่ เพื่อศึกษา/วิจัยชุมชนของตนเองจริงและเตรียมนำเสนอ ตลอดจนจัดทำรายงานการศึกษา/วิจัย ชุมชนของตนเอง

12 – 14 มิถุนายน 2558:
สร้างสรรค์ฯได้เปิดพื้นที่นำเสนอผลงานศึกษา/วิจัยชุมชน สำหรับผู้ที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ ทักษะและกระบวนการศึกษาชุมชนเเพื่อเป็นฐานในงานวิจัย และ/หรืองานพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมซึ่งเป็นเยาวชน ชนเผ่าพื้นเมือง ทั้งสิ้น 8 คน มีกระบวนกร 3 คน คือเจ้าหน้าที่โครงการฯ 2 คนและคุณมะลิวรรณ เสนาวงษ์ ซึ่งเป็นนักวิจัย ประจำศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กระบวนการเริ่มต้นด้วยการพูดคุย ชี้แจงวัตถุประสงค์และนำเสนอผลงานการศึกษา/วิจัยชุมชน ทั้งนี้มีชุมชนที่ได้ศึกษาวิจัยได้แก่

- บ้านปู่แก้ว อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดย อรอุมา เริงฤทัยวรรณ

- บ้านแม่อมกิ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก โดย สมชาย ศรีรักษ์

- บ้านปู่ทา อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดย สมพร ฟ้ากว้างไกล

- บ้านแม่ลามาหลวง อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดย สาริกา ทวีรัตนา

- บ้านเคราะบอ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยพรพจน์ ไพรศิริทรัพย์

- บ้านปางทอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก โดยดำรง ราตรีศีรีรักษ์

- บ้านแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดย น้องแอร์และธนาวิน




กระบวนการนำเสนอ คือ

- ให้ผู้นำเสนอ นำเสนอผลการศึกษาชุมชนด้วย power point และเมื่อจบการนำเสนอให้ผู้นำเสนอได้พูดถึงความรู้สึก บอกจุดแข็ง จุดที่ต้องปรับปรุงและอื่นๆที่สำคัญในงานของตน

- ผู้เข้ารวม ถามตอบและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

- กระบวนกร ช่วยกันตั้งคำถาม ตลอดจนชี้ให้เห็นจุดแข็ง จัดที่ต้องปรับปรุง พูดคุย ชวนวิเคราะห์ในประเด็นที่น่าสนใจและสิ่งที่ต้องศึกษาเพิ่ม



หลังจากผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้นำเสนองานศึกษาของตนแล้วกระบวนกร ชวนผู้เข้าร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสังเคราะห์สิ่งที่ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ 

จากฐานการศึกษาและวิจัยชุมชน เยาวชนที่ผ่านโครงการฯได้ระดมประเด็นที่ตนเองสนใจจนเกิดเป็นหัวข้อที่จะวิจัย เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

- การสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของเยาวชนกะเหรี่ยง

- เยาวชนกะเหรี่ยงในฐานะผู้สืบทอด และส่งต่อวัฒนธรรม มิติ ประเพณี ผ้าทอกะเหรี่ยงและเพลงในพิธิกรรม

- ผู้หญิง ประสบการณ์ เสียง การสร้างภาวะผู้นำกับการสร้างความเท่าเทียมระหว่างเพศ

- เสียง ชีวิตและประสบการณ์ของเยาวชนไร้รัฐเพื่อสร้างความเท่าเทียมในสังคม

สุดท้ายผู้เข้าร่วมได้แยกเข้าเข้ากลุ่มตามประเด็นที่ตนเองสนใจและพูดคุยสิ่งที่อยากทำตลอดจนวิเคราะห์ว่าหากจะให้งานเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง จะต้องมีสิ่งใดบ้าง และนำเสนอข้อมูลที่ได้ต่อกลุ่มใหญ่ 

กระบวนกรทั้ง 3 ร่วมกับสะท้อนบทเรียนที่เกิดขึ้นตลอดกระบวนการ และทิ้งท้ายโจทย์ใหม่ คือ เราจะร่วมกันทำวิจัยในทั้ง 4 ประเด็น ได้อย่างไร ซึ่งจากข้อสรุป นำไปสู่ข้อเสนอแนะให้มีการประชุมวางแผนงานร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง

สรุปบบทเรียนและปิดกิจกรรม


ข้อมูลเพิ่มเติม
จากการดำเนินงานโครงการพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์อนาคตเยาวชนมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปี 2558  โครงการฯ ได้มุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งให้เยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง ผ่านโครงการ/กิจกรรมที่สร้างสรรค์ต่างๆมากมาย รวมถึงการศึกษาชุมชนเเพื่อเป็นฐานในงานวิจัย และ/หรืองานพัฒนาอย่างยั่งยืน เฉพาะโครงการย่อยนี้ เรามีกลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาทุนโครงการฯ ซึ่งรับทุนต่อเนื่องมาแต่ระดับมัธยมศึกษาจนถึงระดับมหาลัย ซึ่งส่วนใหญ่มีความความตั้งใจที่จะกลับไปทำงานพัฒนาชุมชนของตนเอง เราจึงได้วางรากฐานสำคัญสำคัญ คือ ทักษะ ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ ตลอดจนแนวคิด การศึกษาชุมชน/การทำวิจัยเพื่อพัฒนา สำหรับนักการศึกษา นักวิจัย/หรือนักพัฒนา ผู้ซึ่งจะนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ชุมชนและสังคม 

Thursday, June 11, 2015

ผมจะสร้างบ้านดิน (งานเขียนชิ้นที่ 2 ของ กบสมชาย ศรีรักษ์)


ผมจะสร้างบ้านดิน

ตั้งแต่เล็กจนโตผมปรารถนาที่จะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังเหมือนดังคนทั่วไปที่มักใฝ่ฝันจะมีบ้าน แต่บ้านที่ผมเคยเห็นส่วนใหญ่จะเป็นบ้านไม้ หรือบ้านที่ทําจากปูนซีเมนต์ ซึ่งที่กล่าวมานั้น ล้วนต้องใช้ต้นทุนในการสร้างสูงซึ่งก็ไม่รู้ว่าผมจะต้องใช้เวลากี่สิบปีกว่าจะมีบ้านได้สักหลัง

จนวันหนึ่งโครงการพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์อนาคตเยาวชนจัดอบรมเกษตรพึ่งตนเอง ที่พันพรรณ ซึ่งที่นั่นเองผมได้เรียนรู้ที่จะพึ่งตนเองทําเกษตรและทําบ้านดิน ในส่วนของบ้านดินนั้นผมสึกตื่นเต้นและประหลาดใจเป็นอย่างมากที่ห็คนสร้างบ้านดินได้ใหญ่โตอลังการไม่แพ้ บ้านจัดสรร แต่ที่แตกต่างคือต้นทุนซึ่งใช้น้อยกว่าการสร้างบ้านทั่วไป

จากจุดนี้เองที่ทําให้ผมเห็นทางเลือกให้กับตัวเองและขอลั่นวาจาว่า ผมจะมีบ้านดินเป็นหลังแรกของหมู่บ้าน
หลังจากปีแรกของการเรียนรู้ที่สวนพันพรรณผมได้เรียนรู้บ้านดินผ่านการปฎิบัติร่วมกับโครงการฯ ที่ดินของโครงการฯในอําเภอสันกําแพงผมได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทําจนเข้าใจทุกขั้นตอนของการทําอิฐ ตั้งแต่การแช่ดินใส่ส่วนผสมต่างๆ เหยียบดินจนได้ที่แล้วขนดินไปเทลงแม่พิมพ์ กลายเป็นก้อนอิฐแล้วตากจนแห้ง 



ปีที่ 2 ของการจัดอบรมที่พรรณ ซึ่งจัดโดยโครงการ ผมและเพื่อนๆได้ไปเรียนรู้บ้านดินอีกเป็นครั้ง จบจากการอบรมเป็นช่วงปิดเทอมยาว พลังในตัวผมก็ลุกโชน ผมรีบเดินทางจากเชียงใหม่กลับสู่บ้านเกิดและเริ่มทำตามฝันของตนเอง ผมลงมือปั้นอิฐและพยายามทำให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในเวลา 1 เดือน ผมเริ่มต้นการปั้นอิฐโดยไม่ต้องใช้เงินทุนแม้แต่บาทเดียว ผมขุดดินหน้าบ้านให้เป็นบ่อเล็กๆ และยืมสายยางจากเพื่อนบ้านเพื่อต่อน้ำจากก๊อกน้ำมาสู่บ่อดิน ช่วงที่ผมเริ่มปั้นอิฐนั้นเป็นช่วงฤดูแล้ง ปลายเดือนเมษายน ซึ่งน้ำประปาภูเขาในหมู่บ้านไม่เพียงพอที่จะใช้ บ่อยครั้งที่น้ำไหลหนึ่งวันแล้วหยุดไปสามวัน ดังนั้นผมจึงรอน้ำจากก๊อกไม่ได้ ผมเลือกแก้ปัญหานี้โดยการไปแบกเอาน้ำจากโรงเรียนมาเทลงบ่อดิน(ซึ่งระยะทางค่อนข้างไกล) จากนั้นก็ไปขนฟางที่ชาวบ้านทิ้งแล้วนำมาสับเป็นท่อนเล็กๆ เพื่อให้เป็นส่วนผสมในการปั้นอิฐดิน ส่วนไม้แบบอิฐดินนั้นผมก็ขอให้ลุงช่างในหมู่บ้านทำให้ฟรี
เมื่อทุกอย่างพร้อมผมก็เริ่มเหยียบและปั้นอิฐจากดิน วันแรกผมย่ำดินที่หน้าหน้าบ้านเพียงลำพัง เมื่อมีคนเดินผ่านไปผ่านมา ก็มักจะตั้งคำถามถามผมว่า 
“ทำอะไรนะ?”
ผมตอบกลับไปว่า
ปั้นอิฐเพื่อจะทำบ้านดิน”
บางคนก็สนับสนุน ชื่นชมยินดีแต่ก็มีไม่น้อยที่จะพูดว่า
“มันจะได้เหรอ” 
“ แล้วจะสร้างยังไง” 
“สู้ปูนซีเมนต์ไม่ได้เหรอก” 
“เดี๋ยวก็พังหมด เสียเวลาเปล่า”
แน่นอน!!พวกเขาไม่เชื่อว่าเด็กหนุ่มตัวคนเดียวจะสร้างบ้านได้
สำหรับผมแล้ว ผมรู้ดีว่าผมไม่ได้จะบ้านเพียงลำพัง ผมมีเพื่อนและพี่ๆในโครงการที่คอยสนับสนุน และพร้อมจะสนับสนุนผมดังนั้นผมจึงไม่แยแสต่อคำพูดสบประมาทเหล่านั้น



 

นอกจากเพื่อนๆพี่ๆในโครงการฯ ผมยังมีครอบครัวที่คอยสนับสนุน คอยให้กำลังใจ รวมถึงสนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ เช่น กระแป๋งตักน้ำของแม่ ผมได้เอามาทำเป็นกระแป๋งตักดินทำเอาแม่บ่นไปหลายชุด
หลังจากผมได้เริ่มทำดิน ก็ได้มีเด็กๆมาช่วยในช่วงหยุดเรียนบ้างเป็นบางครั้งหรือช่วงเลิกเรียน รวมทั้งน้องชายของผมเองก็จะมาช่วยขุดดินแต่โดยรวมแล้วผมจะทำคนเดียวเสียเป็นส่วนใหญ่เพราะผมจำทำงาในช่วงเช้าตรู่และบ่ายเมื่อแดดร่มลมตก

การทำงานคนเดียวนั้นยากลำบากและเหนื่อยจริงๆโดยเฉพาะตอนที่ต้องยกไม้แบบ ซึ่งปกติจะยกกันสองคนแต่เมื่อไม่มีใครผมก็ยกคนเดียว ผมทำได้ประมาณวันละ 20-30ก้อน ใช้เวลาประมาณ4-5 ชั่วโมงต่อวัน  สภาพอากาศที่บ้านผมร้อนแต่ก็ร้อนน้อยกว่าในเมืองเชียงใหม่ อิฐจึงแห้งได้ช้ากว่า ประกอบกับช่วงนั้นเริ่มเข้าสู่หน้าฝน บางครั้งฝนก็ตกลงมา ฝนจึงนับเป็นอุปสรรคผมต้องเผชิญ ผมเลือกที่จะแก้ปัญหานี้ โดยการย้ายไปทำอิฐใต้ถุนบ้าน เลือกตากอิฐในพื้นที่จำไม่โดนฝน ผมตากอิฐจนเต็มใต้ถุนบ้าน

บ่อยครั้งที่ผมเทดินเสร็จปุ๊ป เจ้าแม่ไก่ตัวโตก็จะเดินมาเหยียบอิฐดินของผมจนเป็นรูแล้วเดิน ทำหน้าตาเฉยจากไป เมือนมันคงจะอยากบอกผมว่า “นายกำลังมารุกล้ำอาณาเขตของฉันนะ”

เพราะเอาเข้าใจจริงพื้นที่ตรงนั้นเคยเป็นที่กกไข่ของมันแต่โดนผมเอาดินมาวางแทน ^__^ 
ช่วงแรกอิฐดินของผมมีขนาดใหญ่มากชั่งได้ก้อนละสิบสามกิโลกรัม ซึ่งดูแล้วอาจจะหนักเกินไป และคงลำบากเพื่อนๆมากเวลาที่ต้องยกอิฐเหล่านั้นขึ้นในขั้นตอนของการสร้างบ้านดิจ ผมจึงลดขนาดของอิฐลง ช่วงท้ายๆฝนเริ่มตกชุกขึ้น จนไม่สามารถทำงานต่อได้ ผมจึงตัดสินใจหยุดปั้นอิฐ
ถึงแม้ผมจะได้หยุดปั้นดินให้เป้นอิฐแล้วแต่ผมไม่ได้หยุดฝัน ผมฝันที่จะสร้างบ้านดินและปีหน้าผมก็จะปั้นอิฐดินเพิ่มอีก
ปีนี้ผมปั้นได้ราวๆ 200-300ก้อน ผมภูมิใจและรู้สึกว่าตนเองเก่งมาก และผมจะเก่งขึ้นอีกถ้าได้สร้างบ้านดินจนสำเร็จและตอนนั้นผมจะสามารถบอกใครต่อใครได้ว่า  “ผมมีบ้านดิน ที่ทำด้วยตัวเอง”


สมชาย  ศรีลักษณ์ เป็นเยาวชนที่ได้รับสนับสนุนทุนการศึกษาตั้ง แต่ ระดับมัธยมศึกษาต่อเนื่องมาจนถึงระดับ มหาวิทยาลัย ปัจจุบันศึกษาอยู่ระดับชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยการพละศึกษาเชียงใหม่ นอกจากนี้สมชายร่วมกิจกรรมและได้ผ่านการฝึกอบรมต่างๆซึ่งจัดโดยโครงการฯ เกษตรและการพึ่งตนเองเป็นประเด็นที่สมชาย ให้ความสนใจเป็นพิเศษและฝันอันยิ่งใหญ่ของสมชายที่จะสร้าง บ้านด้วย ตนเองจะเป็นจริงในไม่ช้า เราได้วางแผนร่วมกันว่า  เราจะไปสร้างบ้านดินของสมชาย ในเร็ววันนี้



หมายเหตุ โครงการพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน(สร้างสรรค์ฯ ) เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสิทธิเด็กเยาวชนชาติพันธุ์ ให้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือก เราทำงานกับเด็กและเยาวชนกว่า 300 คน ในจำนวนนี้เราสนับสนุนทุนการศึกษาจำนวนกว่า 120 ทุน ตั้งต่ระดับมัธยมศึกษา ต่อเนื่องไปจนถึงระดับมหาลัย

สนใจสนับสนุนสมทบทุนส่วนของวัสดุและอุปกรณ์ในการสร้างบ้านตลอดจนค่าอาหาร สำหรับอาสาสมัครซึ่งต้องการที่จะเรียนรู้การสร้างบ้านดินในครั้งนี้
สนับสนุนได้ที่บัญชี: นางสาวมัจฉา  พรอินทร์ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 457-2-32422-8 ธนาคารกสิกรไทย สาขาเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่